สามารถสแกน QR Code ร่วมบริจาคเงินช่วยเหลือเด็กกำพร้าที่ยากไร้เพื่อเป็นทุนการศึกษาให้กับเด็กที่ไม่มีโอกาสได้เรียนหนังสือกับมูลนิธิราชประชาสมาสัย ในพระบรมราชูปถัมภ์

ข่าวสารและกิจกรรม

วันเสาร์ที่ 29 มีนาคม 2568 เวลา 09.00 น. นางอภิญญา ชมภูมาศ อธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน มอบหมายให้ นางศิริลักษณ์ มีมาก รองอธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน เป็นประธานร่วมกับ นางศิริรัตน์ อายุวัฒน์ ประธานกรรมการ ฝ่ายราชประชาสมาสัยเฉลิมพระเกียรติ มูลนิธิราชประชาสมาสัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในพิธีเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับทุนพระราชทาน ค่ายสานรักครอบครัวสายสัมพันธ์เข้มแข็ง ประจำปี 2568 เพื่อเสริมสร้างทักษะความรู้ และส่งเสริมสัมพันธภาพและความเข้าใจอันดีภายในครอบครัว รวมถึงปลูกฝังให้เด็ก และเยาวชนมีวิถีการดำเนินชีวิตที่ดี มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคม เด็กสามารถเติบโตไปสู่ช่วงวัยต่อไปอย่างมีคุณภาพ โดยมี นางสาวอรนุชา มงคลรัตนชาติ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการพัฒนาและสวัสดิการเด็ก เยาวชน และครอบครัว ข้าราขการ และเจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมพิธี ณ โรงแรมโฮเทล วิศมา จังหวัดราชบุรี

เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2568 มูลนิธิราชประชาสมาสัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดย คุณขรรค์ ประจวบเหมาะ รองประธานกรรมการมูลนิธิราชประชาสมาสัยฯ และหม่อมหลวงอยุทธ์ ไชยันต์ ประธานกรรมการฝ่ายการเงินและบัญชี ได้รับบริจาครถยนต์ ยี่ห้อนิสสันมาร์ช มูลค่า 227,500 บาท จากมูลนิธิวิเชียร ปราณี เผอิญโชค เพื่อใช้ในกิจการมูลนิธิฯ

เมื่อวันศุกร์ที่ 7 มีนาคม 2568 มูลนิธิราชประชาสมาสัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้จัดประชุมเพื่อหารือในเรื่องที่ 1.การจัดทำหนัง"อนุสรณ์ครบรอบ 70 ปีแห่งการกำจัดโรคเรื้อนสำเร็จสมดังพระราชปณิธาน (ปี 2498 - 2568)" เรื่องที่ 2.การปรับปรุงอาคาร 8 ชั้น 3 สถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และเรื่องที่ 3.การปรับปรุงอาคารวิจัยเฉลิมพระเกียรติซาซากาวาอุทิศให้ โดยมีนายแพทย์นิติ เหตานุรักษ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค เป็นประธาน ซึ่งศาสตราจารย์นายแพทย์ธีระ รามสูต ประธานกรรมการ มูลนิธิราชประชาสมาสัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้กล่าวในที่ประชุมว่า ประวัติความเป็นมาของเรื่องราวและผู้เกี่ยวข้อง ของแต่ละวาระและได้เสนอในวาระที่หนึ่ง ว่า เนื่องจากมูลนิธิ Sasakawa Memorial Health Foundation ของญี่ปุ่น มีคุณูปการณ์อย่างมากในการสนับสนุนงานโรคเรื้อนของประเทศไทยและผมในฐานะผู้บริหารกองโรคเรื้อนและกรมควบคุมโรคและที่ปรึกษามูลนิธิซาซากาวานี้ ได้ร่วมงานอย่างใกล้ชิดมาโดยตลอดจึงอยากรับเขียนบทความในหนังสืออนุสรณ์เล่มนี้ ในเรื่องบทเรียนของการทำงานเพื่อขอความช่วยเหลือจากมูลนิธิเอกชนของญี่ปุ่นแห่งนี้ เพื่อเป็นต้นแบบให้ผู้บริหารรุ่นหลังได้เรียนรู้ว่า ผมใช้ "ภาวะผู้นำที่ขับเคลื่อนด้วยความสัมพันธ์เพื่อขอความช่วยเหลือ" (Relationship - Driven Leadership) จนทำให้เกิด Soft Power ในการจัดการ และ สร้างความสำเร็จในการทำงานร่วมกับมูลนิธินี้ ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนต่างชาติได้อย่างไรสรุปยุทธศาสตร์เชิงบริหารและภาวะผู้นำที่ผมใช้รวม 10 ประการ คือ1.การสร้างความสัมพันธ์เชิงกลยุทธ ( Strategy Relationship Building )2.ความซื่อตรง ( Integrity )3.การดูแลและให้เกียรติพันธมิตร ( Relationship Nurturing and respect )4.การใช้มนุษยสัมพันธ์แทนการใช้คำสั่ง ( People - Oriented Leadership )5.การทำงานเชิงรุกเมื่อทีปัญหา ( Proactive Pattern Solving )6.ความเข้าใจวัฒนธรรมการทำงานของคนญี่ปุ่น ( Cultural intelligence ) ที่ให้ความสำคัญของความจริงใจและมารยาท7.การเจรจาต่อรองและให้ได้ทั้งสองฝ่าย ( Win - Win Negotiation )8.การบริหารความสัมพันธ์ในระยะยาว ( Long Term - Term Partnership Thinking )9.การรักษาคำพูด และความสม่ำเสมอ ( Consistency and Commitment )10.การเป็นผู้นำที่เข้าใจคน ( Empathic - Leadership )

เมื่อวันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2568 มูลนิธิราชประชาสมาสัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้จัดประชุมการจัดทำหนังสือการควบคุมโรคเรื้อน 70 ปี โดยมีศาสตราจารย์นายแพทย์ธีระ รามสูต ประธานกรรมการ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้